เพื่อน ๆ Ayasan เคยสงสัยกันมั้ยว่า… ทำไมน้ำประปาในเมืองไทยดื่มไม่ได้เหมือนต่างประเทศ? เรื่องนี้มีที่มาที่ไปนะจะบอกให้ สาเหตุสำคัญก็คือ ในน้ำประปาเมืองไทยมี “โซเดียมสูง” ! โดยในบางช่วงน้ำประปาก็จะมี “รสเค็ม” ก็เป็นผลมาจาก “ภาวะน้ำทะเลหนุนสูง” นั่นเอง
อย่างเช่น เมื่อต้นกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว (2564) “การประปานครหลวง” ได้แจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับภาวะน้ำทะเลหนุนสูง จนทำให้ในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล น้ำประปามีรสชาติกร่อยเค็มจนรับรู้ได้
ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะได้รับผลกระทบต่างช่วงเวลากัน อาทิ กรุงเทพฯ และปริมณฑล มักเจอภาวะน้ำทะลหนุนสูงช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมของทุกปี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำประปาก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะแม้จะมีการจำกัดปริมาณโซเดียมไว้ว่า ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และคลอไรด์ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร
แต่ปัจจุบันน้ำประปามีโซเดียมประมาณ 100-150 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งทางโภชนาการและการแพทย์แนะนำว่า มนุษย์ควรรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งปัจจุบันน้ำประปามีโซเดียมประมาณ 100-150 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนจะดื่มน้ำประปาโดยไม่ได้รับโซเดียมเกินกว่าที่กำหนด
คำถามที่เกิดขึ้นในใจของเพื่อน ๆ ต่อมาคือ “แล้วเราจะรับมือกับน้ำประปาเค็ม” ทั้งในและนอกฤดูกาลนี้อย่างไรดี? Ayasan ก็มีคำตอบมาฝากทุกคน
สำหรับคนปกติทั่วไป การดื่มน้ำประปาปา หรือน้ำกร่อย อาจได้รับโซเดียมเพิ่มเติมจากปกติ จึงควรลดปริมาณสารปรุงแต่งอาหารที่มีความเค็มลง เช่น เกลือ, น้ำปลา, ซีอิ้ว, ซอสปรุงรส และผงปรุงรส รวมทั้งงดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ขนมกรุบกรอบ, มันฝรั่งทอด หรือเปลี่ยนเป็นใช้น้ำดื่มบรรจุขวดปิดสนิทแทนจะดีกว่า และยังส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต้องลดอาหารเค็มหรือลดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยโรคหัวใจ สามารถมีอาการของโรคกำเริบได้ หากดื่มน้ำประปาที่มีรสกร่อย หรือมีภาวะโซเดียมสูงเกินไป ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำประปาไม่ว่าจะในภาวะน้ำทะเลหนุนสูงหรือไม่ก็ตาม
ส่วนวิธีป้องกันการดื่มน้ำประปาที่มีโซเดียมสูงเกินไป ก็คือ ใช้เครื่องกรองน้ำ Reverse Osmosis (RO) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสารต่าง ๆ ออกจากน้ำโดยเฉพาะสารที่มีขนาดเล็กมาก เช่น โมเลกุลโซเดียมและคลอไรด์ ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยโรคหัวใจ ดื่มน้ำที่ผ่านระบบ RO เช่น น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำประปาที่ผ่านระบบ RO ที่บางบ้านอาจติดตั้งไว้ หรือตู้กดน้ำดื่ม RO ที่มีบริการในบางพื้นที่ จะปลอดภัยกว่าการดื่มน้ำประปาที่ผ่านการกรองหรือการต้มเท่านั้น แต่มีราคาแพง
แต่การมีสุขภาพดีเป็นลาภอันประเสริฐ การลงทุนซื้อเครื่องกรองน้ำก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตอนอายุมากขึ้นได้มากโขเชียวล่ะ
Writer – Taro (Founder/CEO Ayasan)
Ayasan Service Co.,Ltd.
Office – 29th Floor , Central World Tower 999/9 Rama 1 Road Pathumwan, Bangkok 10330, Thailand
Leave a Reply