7 วิธีดูแลผู้สูงอายุช่วงโควิด-19 ระบาด ให้มีความสุขและปลอดโรค

หลังเทศกาลเฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ 2565 การระบาดของโรคโควิด-19 กลับมาอีกครั้ง ล่าสุดมาพร้อมกับสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่แพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้ลุกลามแล้วใน 54 จังหวัดทั่วประเทศไทย (จากการรายงานข่าวของสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์ ณ วันที่ 5 มกราคม 2565) และมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (รวมทุกสายพันธุ์) หลายพันคนต่อวัน ซึ่งศบค. คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงสิ้นเดือนนี้

และกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่าย ก็ไม่พ้นกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว เสี่ยงอาการหนัก ทั้งหมด 8 โรค (ความดันโลหิตสูง, เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ, เบาหวาน, ไตเรื้อรัง ผู้ป่วยฟอกไตและปลูกถ่ายไต, หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรัง, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และอ้วน) รวมทั้ง “ผู้สูงอายุ” ด้วย ซึ่งแพทย์แนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านไปอยู่ในที่คนพลุกพล่าน หากไม่จำเป็น แต่อยู่ในบ้านอย่างเดียวก็ใช่ว่าจะปลอดเชื้อ หรือรอดจากเชื้อไวรัสมัจจุราชนี้ไปได้

แต่ถ้าไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของเราต้องติดโรคระบาดดังกล่าว Ayasan เลยมี 7 วิธีดูแลผู้สูงอายุช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาแบ่งปัน ที่ทำตามแล้วคนที่คุณรักจะห่างโรคร้ายดังกล่าวได้ตลอด มากี่ระลอกก็ไม่หวั่น!

1. ใช้เวลาร่วมกัน

เมื่อทุกคนต้องกักตัวอยู่บ้าง หรือทำงานจากบ้าน (Work From Home) อย่าลืมแบ่งเวลาของคุณ หรืออาจะระหว่างวัน ที่พักเที่ยง พักตอนบ่าย และหลังเวลาเลิกงาน เพื่ออยู่ร่วมกันกับผู้สูงอายุ พูดคุยด้วยเพื่อไม่ให้พวกท่านเหงา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้สูงอายุที่บ้านคุณมีเพื่อนน้อย ยิ่งต้องใช้เวลาร่วมกับพวกท่านมากขึ้นไปอีก เพราะการที่ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้เดียวดายจะทำให้สภาพจิตใจและอารมณ์ของพวกเขาแปรปรวนไปในทางที่แย่ และรู้สึกไร้ค่าในที่สุด ซึ่งคุณลูกคุณหลานจะต้องคอยดูแลให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

2. ชวนลูกหลานมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่

หากบ้านไหนมีบุตรหลานเหลนโหลนอาศัยอยู่ชายคาเดียวกัน (ครอบครัวใหญ่) การให้เด็ก ๆ ได้ใช้เวลาร่วมกันกับผู้สูงอายุช่วยทำให้คนทั้งสองวัยเติมเต็มความสุขและคลายเหงาของกันและกันได้ ฝั่งเด็กก็ได้ความรู้และประสบการณ์จากผู้สูงอายุ ขณะที่ผู้สูงอายุก็ได้รับพลังงานดี ๆ ความกระปรี้กระเปร่าจากเด็ก ๆ ด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวที่ต่างวัยกันมาก ๆ ให้ผูกพันและรักใครกลมเกลียวยิ่งขึ้น กิจกรรมที่คนต่างวัยสุดขั้วสามารถร่วมทำได้ เช่น ทำอาหารแบบง่าย ๆ อย่าง แซนด์วิช พายชีสบลูเบอร์รี่ หากเป็นกิจกรรมที่ใช้ทักษะ เช่น วาดภาพระบายสี ประดิษฐ์สิ่งของแบบง่าย ๆ เป็นต้น

3. ชวนเล่นเกมหรือทำกิจกรรมที่ใช้ความจำ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อาการหลง ๆ ลืม ๆ ก็เริ่มถามหา แต่ถ้าลูกหลานอย่างคุณไม่อยากให้ผู้สูงอายุที่เคารพรักหลงลืมจนเข้าขั้นป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ช่วงกักตัวอยู่บ้านก็ลองชวนผู้สูงอายุมาเล่นเกมที่จำลองการวางแผน ฝึกตัดสินใจ เพื่อให้สมองได้ทำงาน คิด ๆ และถ้าสามารถทำติดต่อกันได้ทุกวัน รับรองว่า โรคความจำเสื่อมไม่อยู่ในพจนานุกรมของพ่อแม่ลุงป้าที่รักของคุณแน่นอน

4. ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านสม่ำเสมอ

อีกหนึ่งสิ่งที่ทุกบ้านที่มีผู้สูงวัยอาศัยอยู่ต้องมีติดบ้านไว้ นั่นก็คือ “เครื่องวัดความดัน” เพราะเมื่อใดที่ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเราเกิดอาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะ หรือง่วงนอนมาก ๆ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรมาก ก็หยิบเครื่องมือนี้ขึ้นมาวัดความดันไปเลย ว่าต่ำหรือสูงกว่าปกติ หรืออาจจะมีเครื่องมือตรวจสุขภาพด้วยตัวเองง่าย ๆ เช่น ปรอทวัดไข้ หรือยุคโควิดก็ต้องมีที่ตรวจ ATK Test เป็นต้น ซึ่งคุณในฐานะลูกหลานจะควรหมั่นตรวจเช็กสุขภาพของผู้สูงอายุสม่ำเสมอ อาจจะทุกอาทิตย์ เพื่อให้ท่านสามารถหลีกเลี่ยงอาการเจ็บป่วยได้ รวมถึงความเครียดที่จะตามมาหลังเกิดล้มป่วย

5. พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ผู้สูงอายุคือ ครูที่สอนวิชาชีวิตที่ดีที่สุด เพราะพวกท่านล้วนผ่านประสบการณ์มากมายตลอดช่วงอายุขัย เมื่อพวกท่านอยู่บ้านจึงเป็นโอกาสอันดีที่ทุกคนจะได้นั่งล้อมวงในห้องนั่งเล่นหรือโต๊ะกินข้าว เพื่อให้ผู้สูงอายุเหล่านี้ได้แบ่งปันประสบการณ์ ความคิด และบทเรียนที่ได้รับหลังผ่านช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ทั้งดีและร้ายกับคนรุ่นเยาว์ ไว้เป็นแนวทางดำรงชีวิตบนพื้นฐานของความไม่ประมาท หรือไอเดียบางอย่างถ้าทำได้ดีมากขึ้นได้อีก ก็นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ บางทีอาจไฉไลกว่าของเก่ามาก ๆ ก็ได้ ใครจะรู้!

6. ทำกิจกรรมนันทนาการ (แบบกลุ่ม)

หากิจกรรมนันทนาการที่เน้นทำเป็นกลุ่มให้กับผู้สูงอายุ จะทำร่วมกับลูกหลานก็ดี หรือจะทำกับเพื่อนวัยเดียวกันก็ได้ เป็นการหากิจกรรมให้ผู้สูงวัยได้แอคทีฟ ขยับเขยื่อนร่างกายให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยพวกเขา (และอาจจะเด็ก ๆ ด้วย) ไม่ให้ติดจอมือถือหรือไอแพดทั้งวัน จนสายตาเสีย

7. สอนผู้สูงอายุให้รู้จักใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ ที่ต้องทำกับผู้สูงอายุในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้านเนื่องจากโควิดระบาดหนักก็คือ “การสอนใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีต่าง ๆ” เช่น สอนพวกท่าใช้มือถือโทรแบบ Video Call หรือส่งอีเมล หรือเล่นไลน์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถติดต่อพูดคุยกับเพื่อนฝูงและครอบครัวได้ทุกเมื่อ นอกจากนี้ ยังช่วยให้คนสูงวัยกระปรี้กระเปร่าและสมารถใช้ชีวิตทันโลกปัจจุบัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่จ้องจะหลอกเอาเงินคนแก่โดยไม่สุจริตได้ง่าย ๆ เรียกว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ท่านเลยก็ว่าได้

ส่วนใครที่อยากได้ “คนดูแลผู้สูงอายุ” ซึ่งเชี่ยวชาญการดูแลผู้สูงวัยและชำนาญการทำหัตถการต่าง ๆ เพื่อคนที่คุณเคารพรัก ที่สำคัญไว้ใจได้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ “ฝ่ายบริการลูกค้าของ Ayasan”

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *