ตอนนี้คุณกำลังดูแลผู้สูงอายุอยู่เหลือเปล่า ผู้สูงอายุของคุณสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจะมาดูกันว่ามีสัญญาณเตือนอะไรกันบ้าง แล้วเรามีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
บทความนี้นำเสนอเพียงคำแนะนำเบื้องต้นที่สามารถลงมือทำได้ด้วยตนเอง ในสถานการณ์จริงเมื่อพบเจอปัญหาผู้สูงอายุ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพท์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
สัญญาณเตือนที่ 1: ผู้สูงอายุเริ่มมีปัญหาในการช่วยเหลือตัวเอง
สัญญาณเตือนที่ชัดเจนที่สุดที่เราจะเห็นได้คือผู้สูงอายุเริ่มไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในการทำกิจวัตรประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าห้องน้ำ ลุกขึ้นยืน นั่ง หรือแม้แต่เดินปกติ เรียกได้ว่าการดำเนินชีวิตประวันง่าย ๆ เริ่มไม่สามารถที่จะกระทำได้ด้วยตนเอง
หากผู้สูงอายุยังอยู่ในระดับที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้างเช่น สามารถเดินได้ ลุก นั่งได้ แต่ก็เสี่ยงต่อการล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ อาจจำเป็นต้องมีตัวช่วยในการดำเนินกิจวัตรประจำวันอย่างการเสริมสร้างพื้นที่ในบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การติดตั้งราวทางเดินตามบริเวณบันได้หรือตามขอบกำแพงหรืออุปกรณ์อย่างไม้เท้า (Cane/Walker Stick) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
แต่หากผู้สูงอายุอยู่ในระดับที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย เช่น ไม่สามารถลุกยืนหรือเดินขึ้นบันไดด้วยตัวเองหรือทำได้แต่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เมื่ออยู่ในระดับนี้จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแล อาจจะเป็นผู้คนภายในบ้าน ลูก ๆ หลาน ๆ ต้องคอยดูแลผู้สูงอายุในการใช้ชีวิต
สัญญาณเตือนที่ 2: ผู้สูงอายุเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว
ไม่ว่าจะปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือสุขภาพกาย ความเครียด ความเหงา การเจ็บป่วย ความอ่อนไหวทางอารมณ์ซึ่งล้วนอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้กำลังในการกระทำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อผู้ดูแล ไม่ว่าจะเป็นการตี ตบ หรือหยิก ใช้เสียงตะโกนแสดงความไม่พอใจ พฤติกรรมที่ไม่สมควรเหล่านี้ส่งผลอย่างมากต่อตัวผู้ดูแลและตัวของผู้สูงอายุเอง
แนวทางในการแก้ไขปัญหานี้คือต้องเข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรมนั้น ๆ ของตัวผู้สูงอายุ อาจเริ่มด้วยการพูดคุยและสอบถามอย่างใจเย็นเพื่อได้รับรู้ถึงความคิด และเป็นเรื่องสำคัญที่จะพิจารณาเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สัญญาณเตือนที่ 3: ผู้สูงอายุเริ่มมีภาวะซึมเศร้า
เมื่ออายุมากขึ้น ย่อมได้เข้าสังคมน้อยลงเป็นปกติ ยิ่งในยุคดิจิทัลที่ผู้คนติดต่อกันผ่านโชเชียลกันเป็นปกติ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถตามเทรนด์ในปัจจุบันทันอาจเกิดรู้สึกถึงความโดดเดี่ยว ความเหงา ซึ่งความเหงาเหล่านี้อาจเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุค่อย ๆ เข้าสู่ภาวะซึมเศร้า
หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุเกิดการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา ลูก หรือคนรอบตัวที่มีความสำคัญทางจิตใจ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะซึมเศร้าได้
เมื่อผู้สูงอายุอยู่ในภาวะซึมเศร้า ต้องมีผู้ที่คอยดูแลและให้กำลังใจอยู่เสมอ ในช่วงเวลาที่ยากเย็นเช่นนี้ผู้ที่อยู่ใกล้ตัวนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อจิตใจของผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้
สัญญาณเตือนที่ 4: ปัญหาความเสี่ยงต่อความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
ปัญหาด้านร่างกายเกี่ยวกับการขยับเขยื้อนนับว่าหนักแล้ว แต่อีกปัญหาใหญ่หนึ่งคือเรื่องความจำที่ค่อยเสื่อมสภาพลงตามอายุ ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหลงลืมและสูญเสียความจำจำป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากปัญหาด้านความจำอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ดูแลในครอบครัว
แนวทางปัญหาที่สามารถช่วยได้อย่างการสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำ เช่น การลดความซับซ้อนของบริเวณในบ้าน เพื่อลดความสับสนในการทำกิจกรรมทั่วไป สนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายหรือกระตุ้นสมอง เช่น การท่องเที่ยว การออกกำลังกายเบา ๆ ที่เหมาะสม ในส่วนของกิจกรรมที่กระตุ้นสมองเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำนั้นมีมากมาย สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Improve memory and mental Health: 25 brain games for older people
สัญญาณเตือนที่ 5: คนดูแลเริ่มรู้สึกเครียดและเหนื่อยล้า
ถึงแม้จะมีคนดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นญาติ ลูกหรือหลาน แต่การดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องมีความอดทนและใช้ความใจเย็นสูงอย่างมาก อีกทั้งยังต้องสละเวลาในการทำงานหรือแม้แต่เวลาส่วนตัวเพื่อต้องมาดูแลผู้สูงอายุอีกด้วย
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรคำนึงถึงผู้ที่ดูแลด้วย นั่นเพราะต้องใช้พลังงานอย่างมากในการดูแลผู้สูงอายุคนหนึ่ง การรับรู้และหาวิธีช่วยจัดการกับความเครียดให้กับผู้ดูแลจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นผู้คนใกล้เคียงต้องคอยดูแล ถามไถ่ หรือเป็นไปได้คือช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ดูแลซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อตัวผู้ดูแลเอง หากผู้ดูแลเครียดก็จะพลอยทำให้ผู้สูงอายุเครียดไปด้วย หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือการปรึกษาจิตแพทย์ที่จะช่วยเยียวยาและเข้าใจผู้ดูแลมากขึ้น
แต่ถ้าหากคุณไม่มีเวลา พวกเรา Ayasan Cares พร้อมให้ความช่วยเหลือบริการผู้ดูแลผู้สูงอายุมืออาชีพ ทำให้ท่านมีเวลาใช้ชีวิตของท่าน และดูแลผู้สูงอายุไปพร้อมกันได้ด้วย สามารถเข้าไปดูรายละเอียดหรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Ayasan Cares: บริการจัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ส่งตรงถึงบ้าน | การันตีด้วยผู้ดูแลมืออาชีพ | บริการดูแลรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน (ayasan-service.com)
Leave a Reply